วันอังคารที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2557

เทคโนโลยีการประหยัดพลังงาน

1. Lithium-air batteries
โครงการพัฒนาแบตเตอรี่ชนิด Lithium-air ได้รับการพัฒนาโดย สถาบัน MIT (Massachusetts Institute of Technology) เมื่อปี 2011 เพื่อเป็นแหล่งพลังงานทางเลือก ที่มีขนาดเบา และมีประสิทธิภาพสูงกว่าแบตเตอรี่มาตรฐานทั่วไป ลดปัญหาการแบกรับน้ำหนักเครื่องมือของทหาร โดยแบตเตอรี่ Lithium-air ชนิดนี้มีค่าความจุพลังงานถึง 2500 Watt hour per kilogram
2. Solar Soldier project
โครงการพัฒนาแหล่งพลังงานขนาดเล็กจากพลังงานแสงอาทิตย์ (Photovoltaic และ thermoelectric cell) เพื่อให้สามารถพกพา และที่ติดตั้งบนเครื่องแบบ/สัมภาระของทหารได้ ซึ่งนอกจากจะลดภาระการแบกน้ำหนักของทหารแล้ว ยังเป็นการใช้พลังงานสะอาดในภาคการทหารอีกด้วย การพัฒนาเทคโนโลยีทางทหารดังกล่าวนี้ได้รับการพัฒนาในหลายประเทศเช่น กระทรวงกลาโหมสหราชอาณาจักร และกองทัพออสเตรเลีย
3. Solar panels
โครงการพัฒนาแหล่งพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อใช้เป็นแหล่งพลังงานให้กับฐานทัพหน้า ซึ่งพัฒนาโดย กองทัพบกสหรัฐฯ ด้วยการลงทุนถึง 344 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งประกาศว่า ภายในปี 2011 จะสามารถพัฒนาและติดตั้งแหล่งพลังงานแสงอาทิตย์ได้ถึง 160,000 แผ่น ให้กับฐานทัพต่างๆ เพื่อลดการใช้ และพึ่งพาพลังงานจากภาคพลังงานของเอกชน ตลอดจนเพื่อให้กองทัพบกสหรัฐฯ สามารถใช้พลังงานสะอาดที่สามารถนำกลับมาใช้ได้ 25 % จากทั้งหมด ภายในปี 2025
4. Water filtration and re-use systems
โครงการพัฒนาระบบกรองน้ำ และการนำกลับมาใช้ใหม่ เป็นโครงการโดยกองทัพสหรัฐฯ ซึ่งขณะนี้อยู่ในระหว่างการทดสอบระบบที่ห้องทดลอง The System Integration Laboratory ณ Fort Devens, Massachusetts ประเทศสหรัฐฯ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดความสิ้นเปลืองทรัพยากรน้ำของที่ตั้งทางทหารต่างๆ
5. Organic LED night vision devices
โครงการพัฒนากล้องส่องกลางคืน โดยการนำเทคโนโลยีประหยัดพลังงาน เช่น Organic Light Emitting Diodes (LEDs) และ เทคโนโลยี thin-film มาประยุกต์ใช้ ถูกพัฒนาขึ้นด้วยความร่วมมือของ DARPA และ University of Florida โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการลดการใช้พลังงานของยุทโธปกรณ์ทางทหารชนิดนี้ ซึ่งการวิจัยพบว่า กล้องส่องกลางคืนที่ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดังกล่าว มีความต้องการพลังงานเพียง 5 volts ตลอดจนส่งผลให้มีน้ำหนักเบาขึ้นลดภาระการแบกน้ำหนักของทหารอีกด้วย
6. Air conditioning
จากการปฏิบัติการทหารทหาร ณ ประเทศอิรัก และอาฟกานิสถานของกองทัพสหรัฐ ในปี 2011 พบว่า กองทัพสหรัฐใช้งบประมาณด้านพลังงานสำหรับการปรับอากาศภายในฐานทัพหน้าถึง 20.0 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ส่งผลให้เกิดแนวคิดในการประหยัดพลังงานด้วยการพัฒนาที่พักทหารโดยการใช้ Polyurethane foam เป็นฉนวนกันความร้อน ซึ่งจากการทดลอง พบว่ามีการลดการใช้พลังงานถึง 92%
7. Landfill methane
โครงการพัฒนาโรงงานผลิตพลังงานไฟฟ้าจากก๊าซมีเทนใต้ดิน ณ Fort Benning Garrison, Alabama ประเทศสหรัฐฯ ได้รับการพัฒนาขึ้นโดย Flex Energy ด้วยการสนับสนุนการลงทุนจำนวน 1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จาก Department of Defense’s Environmental Security Technology Certification Programme ซึ่งโรงงานดังกล่าวสามารถเปลี่ยนพลังงานก๊าซมีเทน เป็นพลังงานไฟฟ้าได้จำนวนมากโดยสามารถสนับสนุนการใช้ไฟฟ้าได้ถึง 250 หลังคาเรือนต่อปี
8. Decentralising heat plants
โครงการพัฒนา/ปรับปรุงโรงงานผลิตไอร้อน ของกองทัพอากาศสหรัฐฯ ด้วยการปรับปรุงระบบการจ่ายไอร้อนจากการรวมการ (Centralized) เป็นแบบกระจาย (Distribution) เพื่อลดอัตราการใช้พลังงานตามข้อกำหนดของรัฐบาลสหรัฐ ปีละ 3% จนถึง ปี 2015
9. US Navy biofuel programs
โครงการพัฒนาพลังงานทางเลือกจากชีวภาพ โดยกองทัพเรือสหรัฐฯ ร่วมกับ กระทรวงเกษตร (U.S. Department of Agriculture (USDA) ) ในการพัฒนาพลังงานทางเลือกดังกล่าว และได้นำมาใช้งานในยุทโธปกรณ์ต่างๆ ของ กองทัพเรือ ภายใต้โครงการ ‘Green Hornet’ อันประกอบด้วย F/A-18 Super Hornet ซึ่งได้ใช้พลังงานผสม 50/50 camelina biofuel blen  ใน เมษายน 2010 เป็นต้น ซึ่งหลังจากนั้นได้มีกองทัพเรือได้ปรับการใช้พลังงานทางเลือกไปสู่ยุทโธปกรณ์อื่นๆ เป็นจำนวนมาก เช่น ฮ.Seahawk, บ.F-22 Rapter และระบบอากาศยานไร้นักบินอย่าง MQ-8B Fire Scout
10. Fuel cells
โครงการพัฒนาเซลล์เชื้อเพลิงเพื่อเป็นระบบสำรองพลังงานให้กับฐานทัพของกองทัพสหรัฐฯ แทนการใช้เครื่องผลิตไฟฟ้าพลังงานดีเซลได้ถูกพัฒนาขึ้นโดยกระทรวงพลังงาน ร่วมกับกระทรวงกลาโหมสหรัฐ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความมั่นคงปลอดภัยด้านพลังงานให้กับกองทัพ และเป็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อลดการใช้งบประมาณทั้งในด้านการบำรุงรักษา และเพิ่มความปลอดภัยในชีวิตของทหาร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น